วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

Big M นาโนไคโตซาน


Big M นาโนไคโตซาน
   เข้มข้นกว่าสูตรธรรมดา มั่นใจในคุณภาพ ใช้ได้ ใช้ดี ไม่มีเสียเวลา..
.
*** เหมาะสำหรับเกษตรอินทรีย์ ผู้ที่รักการปลูกต้นไม้ ปลูกพืชผักสวนครัวแบบอินทรีย์ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับบนหอพัก คอนโด บ้านจรรสรร ร้านกาแฟ มุมจัดสวนหน้าบ้าน ฯลฯ


วิธีใช้
ใช้ได้กับพืชทุกชนิด 
ผสมน้ำอัตรส่วน 1 cc ต่อน้ำ 1ลิตร ฉีดพ่นทางใบ  ทุกอาทิตย์

ไคโตซาน เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ D – glucosamine พบได้ในธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพ ( Biometerials ) ย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ ( non – phytotoxic ) ต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์

ไคโตซานกับการเกษตรด้านการควบคุมศัตรูพืช
1. ยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
การยับยั้งเชื่อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืชในกรณีที่เกิดเชื่อโรคพืชแล้ว (รักษาโรคพืช) และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ โดยไคโตซานมีคุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้น (elicitor) ต่อพืชได้ จะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิด พืชจึงลดโอกาสที่จะถูกคุกคามโดยเชื่อสาเหตุโรคพืชได้
2. ทำให้เกิดโอกาสการสร้างความต้านทานของพืชต่อแมลงศัตรูพืช
ไคโตซานจะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด – ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตุว่าต้นพืชที่ได้รับไคโตซานจะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ
3. ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ไคโตซานสามารถส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อ Actiomycetes sp. Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ ( Furarium )Phythophthora spp. ฯลฯ

รายชื่อศัตรูพืชที่มีการทดสอบแล้วว่าไคโตซานมีศักภาพในการควบคุม
1. การกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานแมลง
   ศัตรูพืช คือ หนอนใยผัก หนอนคืบและอื่น ๆ
   การใช้ การพ่นทางใบ ลำต้น (ขึ้นกับส่วนที่ศัตรูพืชอาศัยอยู่)
   อัตราการใช้ 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

2. การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคพืช
   - ไวรัสโรคพืช
   - แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด
   - เชื้อรา เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม Botrytis cineres Rhizopus stolonifer   - แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว รากเน่า – โคนเน่า ใบจุด โรคใบสีส้ม ใบลาย


ที่มาข้อมูล http://www.doae.go.th/library/html/detail/ditosan.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น