วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน...ต้นไม้ฟินแน่นอน...

ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีอยู่ทั่วไปในโลกใบนี้ มีหน้าที่คอยรักษาสมดุลให้กับระบบนิเวศ โดยเป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์ต่างๆให้มีขนาดเล็กลงในระดับโมเลกุล ซึ่งระหว่างกระบวนการย่อยสลายนี้จุลินทรีย์ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง กรดอะมิโน ฮอร์โมน และอื่นๆอีกมากมายออกมา พืชก็จะนำธาตุอาหารที่จุลินทรีย์ปล่อยออกมาไปใช้ในการเจริญเติบโต ดังนั้นดินที่ใดมีจุลินทรีย์มาก ดินบริเวณนั้นจะอุดมสมบูรณ์ ท่านลองนึกถึง "ดินป่า" ไม่เคยมีใครเอาปุ๋ยอะไรไปใส่ แต่ต้นไม้ในป่ากลับเจริญงอกงาม ออกดอก ติดผล ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะดินบริเวณนั้นมีจุลินทรีย์อยู่มาก จึงมีธาตุอาหารมากตามไปด้วย...
แต่ตรงกันข้าม ในสวน ในไร่ ในนา ของเรา มีแต่สารเคมี จุลินทรีย์ก็เหลือน้อย แล้วใครจะเป็นผู้ผลิตธาตุอาหารต่างๆ รวมทั้งฮอร์โมน ไปให้พืช ยิ่งใส่สารเคมีในดินมากเท่าไหร่ ดินก็ยิ่งแย่ลงเท่านั้น ทั้งแข็ง ทั้งเปรี้ยว ทั้งเค็ม (โดยเฉพาะยาฆ่าหญ้า ทำให้ดินเสื่อมเร็วมาก) ถ้าใครทำเกษตรแบบอินทรีย์ก็ดีไป ปลอดภัยแน่นอน100% หรือเกษตรบางคนทำเกษตรอินทรีย์เคมี แบบนี้ก็ดีเหมือนกัน ต้นไม้งาม ผลผลิตดี 
เคยไหมที่ใส่มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้หมู ฯลฯ แล้วไม่ค่อยย่อยสลาย เป็นก้อนเหมือนเดิม ท่านลองเอาน้ำพรมลงไปให้มูลสัตว์ชุ่มตลอดเวลา รับรองว่าไม่นาน มูลสัตว์จะถูกย่อยจะละเอียด พืชสามารถนำสารอาหารไปใช้ได้เลย การย่อยสลายของมูลสัตว์ก็เกิดจากจุลินทรีย์เนี่ยแหละ และการพรมน้ำก็เพื่อสร้างสภาวะที่เหมาะสมให้กับจุลินทรีย์เพราะจุลินทรีย์จะเจริญได้ดีในที่ที่มีน้ำหรือความชื้นสูงๆ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะรอช้าอยู่ใย พิสูจน์ดูสิครับ ผมรีบนำจุลินทรีย์ HOM ที่มีอยู่มาขยายตามสูตร แล้วนำไปใส่ต้นไทรเกาหลีหน้าบ้าน ตอนแรกใบเหลืองเกือบทั้งต้นเพระโดนฝนเยอะเกิน น้ำท่วมราก หลังจากเพิ่มจุลินทรีย์ลงไปในดิน ต้นไม้ก็ฟินใหญ่เลย ใบกลับมาเขียวชะอุ่ม ดูแข็งแรงสมบูรณ์ ตอนนี้ผมเลยขยายจุลินทรีย์ไว้เต็มบ้าน เอาไว้ใส่สวนลำไย และสวนมะม่วง ผลผลิตครั้งต่อไปจะได้ฟินมากขึ้นกว่าเดิม...

มีรูปให้ดูด้วยนะ(ตอนแรกเหลืองกว่านี้เยอะ)


วิธีขยายจุลินทรีย์ ก่อนนำไปใส่ในดิน
1. นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ HOM ขยาย โดยใช้อัตราส่วนจุลินทรีย์ : น้ำตาลทรายแดง : น้ำ 1:2:100 เช่น จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อ น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 100 ลิตร
2.  ใส่ลงในภาชนะที่มีฝาปิด แต่ไม่แน่น
3. ทิ่งไว้ 7 วันนำไปใช้ได้เลย






วิธีใช้
นำจุลินทรีย์ที่ขยายเรียบร้อยแล้วไปใส่ต้นไม้ได้เลย สำหรับพื้นที่กว้างๆ หรือพืชเยอะๆ เนื่องจากจุลินทรีย์ที่ขยายได้เป็นจุลินทรีย์เข้มข้มพอสมควร ดังนั้นก่อนนำไปใช้ให้สามารถผสมน้ำอีกที อัตราส่วนแล้วแต่พิจารณาของท่านแต่ละคน หรือจะเติมจุลทรีย์ลงไปในดินพร้อมกันกับการให้น้ำพืชก็ได้เหมือนกัน 
จุลินทรีย์ในดิน ยิ่งมีมากก็ยิ่งดี...


หลังจากขยายจุลินทรีย์ HOM ไว้เต็มบ้าน เมื่อเวลาผ่านไปจุลินทรีย์ก็พร้อมเต็มที่ ถึงเวลาเริ่มปฎิบัติการนำไปใส่สวนลำไยซะที...มาดูกันเลย






ติดตามข่าวสารได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จุลินทรีย์หอม(HOM)กับการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ


ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากพืช ซึ่งทำมาจากการนำเศษพืชสด มาผสมกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน กากน้ำตาล ต่อ พืช ต่อ น้ำ ต่อจุลินทรีย์หอม(HOM) เท่ากับ 1 : 3 : 10 : 1 ส่วน หมักในถังปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากสัตว์ มักจะทำมาจาก ปลา หอยเชอรี่ รกสัตว์ เป็นต้น ส่วนวิธีการทำก็เหมือนกับการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากพืช

จุลินทรีย์ทำงานอย่างไร
เมื่อเรานำเศษพืช หรือ สัตว์ต่างๆมาหมักรวมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง แล้วเติมจุลินทรีย์หอม (HOM) ลงไป จุลินทรีย์จะเข้าไปช่วยสลายธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในพืชหรือสัตว์ให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ พร้อมที่จะเป็นอาหารของพืชต่อไป เช่น N P K โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารเสริมต่างๆอีกมากมาย รวมทั้งระหว่างกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ก็จะมีฮอร์โมนพืชออกมาด้วยจำนวนมาก ทั้ง ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน มีเอนไซม์ วิตามินต่างๆ ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีอะไรในปุ๋ยน้ำชีวภาพ
มีธาตุอาหารหลัก N P K ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ฮอร์โมน(ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน) เอนไซม์ วิตามินต่างๆ 
มีจุลินทรีย์ที่ดีจำนวนมากมายมหาศาล

จะเกิดอะไรถ้าเรานำปุ๋ยน้ำชีวภาพใส่ลงไปในดิน
จะทำให้ดินมีธาตุอาหารหลักN P K ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ฮอร์โมน(ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน) เอนไซม์ วิตามินต่างๆ เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีจุลินทรีย์ที่ดีจำนวนมากมายมหาศาลที่ยังคงจะทำงานย่อยสลายธาตุอาหารต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นนอกจากพืชจะได้ประโยชน์จากธาตุอาหารต่างๆจากปุ๋ยน้ำชีวภาพแล้ว ยังได้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์เปรียบเสมือนพนักงานฝ่ายผลิตของโรงงานผลิตปุ๋ยชั้นดีและมีประสิทธิภาพ คอยผลิตปุ๋ยให้พืชตลอดเวลา แสดงว่าทุกๆวันและทุกเวลาในดินก็จะมีปุ๋ยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากจุลินทรีย์นั่นเอง

สภาพของดินที่ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ดินจะเป็นสีดำ ดูแล้วดินจะสมบูรณ์ โปร่ง มีธาตุอาหารครบถ้วน เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะดินที่ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพมาเป็นเวลานาน ดินจะดีมากๆ (ถ้านึกภาพไม่ออกลองเทียบกับดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีดู แล้วท่านจะรู้เลย...ว่าดินมันต่างกัน)

สรุป
การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจำเป็นจะต้องมีจุลินทรีย์เพื่อช่วยย่อยพืชหรือสัตว์ ให้ได้ธาตุอาหารต่างๆออกมา ซึ่งจุลินทรีย์มีอยู่แล้วทั่วไป แค่เราใส่น้ำตาลรวมกับพืชหรือสัตว์และเติมน้ำลงไปเล็กน้อย แค่นี้เราก็จะได้ปุ๋ยน้ำออกมาเช่นกัน แต่ว่าขั้นตอนการหมักจะช้าและเสี่ยงต่อปุ๋ยเน่าได้ ดังนั้นเวลาเราทำปุ๋ยน้ำชีวภาพสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือหัวเชื้อจุลินทรีย์หอม(HOM) ที่เราต้องเติมลงไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระบวนการหมักและย่อยสลายของจุลินทรีย์่ ให้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ และได้ธาตุอาหารต่างๆครบถ้วน อีกทั้งยังได้กองทัพจุลินทรีย์อีกจำนวนมหาศาล ที่พร้อมจะผลิตปุ๋ยให้พืชของเราได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ มีผลผลิตที่งดงาม ประหยัดต้นทุนอีกตางหาก...

หัวเชื้อจุลินทรีย์ HOM ขนาด 150 มล. สามารถขยายได้ 4 ลิตร ซึ่งเมื่อขยายแล้วสามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ได้ 100 ลิตร (โดยใส่จุลินทรีย์ที่ขยายแล้วลงไปทั้ง 4 ลิตรเลยนะครับ)


ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow





วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร?

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร


ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow

เกษตรอินทรีย์คืออะไรเป็นคำสั่งที่ไม่แน่ใจว่าผู้คนจะลึกซึ้งมากน้อยเพียงใดดังที่กล่าวมาแล้วว่าเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในยุโรปดังนั้น
นิยามของเกษตรอินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับร องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างจากผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ และผักอนามัยดังนี้

เกษตรอินทรีย์คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยา
ที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ
และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม
เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถ
ต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร)

ผักไร้สารจากสารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันเพื่อปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้งสิ้น
ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่163 พ.ศ. 2538
ผักอนามัย คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง และการบรรจุหีบห่อ ได้คุณสมบัติมาตรฐาน

ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow

ที่มาข้อมูล
http://www.doae.go.th/library/html/detail/nsfng/indexh.htm



จุลินทรีย์ มีกี่ประเภท?

    

ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow

 จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว (Unicellular) หรือหลายเซล์ (Multicellular) แต่ทว่าเซลล์เหล่านั้นต่างก็เป็นเซลล์ชนิดเดียวกันและมีรูปร่างเหมือนกัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง จุลินทรีย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆตามประเภทของเซลล์ คือ
1.โปรคารีโอต คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
2.ยูคารีโอต คือ มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น เชื้อรา โปรโตซัว และสาหร่ายต่างๆ ยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน


ฟรี !!! Video ทีเด็ดเผยเคล็ดลับ ทำเงินออนไลน์ 20,000 บ/ว
โฆษณา By: ShareMan


ประเภทของจุลินทรีย์
1. แบคทีเรีย (Bacteria)
2. เชื้อรา (Fungi)
3. โปรโตซัว (Protozoa)
4. สาหร่าย (Algae)
5. ไวรัส (Virus)

มาทำความรู้จักกับจุลินทรีย์แต่ละประเภทกันนะครับ

1. แบคทีเรีย (Bacteria)




     เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงส่องดูจึงมองเห็นประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว และเป็นพวกโปรคารีโอต มีผนังเซลล์ที่คงรูป (Rigid cell wall) ทำให้แบคทีเรียรักษารูปร่างได้ แบคทีเรียมีรูปร่างได้หลายแบบมีเพศและไม่มีเพศ โดยแบบมีเพศเกิดจากการรวมตัวของเซลล์ 2 เซลล์ ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศโดยทั่วไปเป็นแบบ Binary fission บ้างก็เป็นการแตกหน่อ (Budding) แบคทีเรียสามารถพบได้ทั่วๆไปไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ มีทั้งชนิดที่ให้ประโยชน์และบางชนิดก็เป็นโทษ ตัวอย่างของแบคทีเรีย เช่น Bacillus spp. Lactobacillus spp. Streptococcus spp. Staphylococcus spp. Escherichia coli Proteus vulgaris Spirillum spp. และ Streptomyces spp. เป็นต้น

2. เชื้อรา (Fungi)



     เป็นจุลินทรีย์ที่มีเซลล์แบบยูคารีโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดี่ยวคือยีสต์ (Yeast) ซึ่งส่วนใหญ่สืบพันธุ์ โดยการแตกหน่อ และหลายเซลล์ซึ่งได้แก่ รา (Mold) โดยมีรูปร่างเป็นเส้นใย (Filamentous) ส่วนของเส้นใยเรียกว่า ไฮฟี (Hyphae) ถ้าไฮฟีมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) เส้นใยมีทั้งแบบมีผนังกั้นและไม่มีผนังกั้น ผนังเซลล์ของเชื้อราแตกต่างจากผนังเซลล์ของแบคทีเรียขนาดและรูปร่างของเชื้อราแตกต่างกันไป บางชนิดต้องใช้กล้องส่องดู เช่าน เซลล์ยีสต์ ที่โตขึ้นมาได้แก่ พวกที่มีลักษณะเป็นเส้นใย และที่สามารถมองเป็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ เห็ด (Mushroom) ซึ่งเกิดจากเส้นใยของเชื้อรามาอยู่รวมกันและอัดแน่นเป็นดอกเห็นขนราดใหญ่ เชื้อราเจริญได้ดีในที่ที่มีความเป็นกรดสูง อาหารเลี้ยงเชื้อราจึงปรับ pH ประมาณ 4.0 ราทุกชนิดเป็นพวกที่ต้องการอากาศส่วนใหญ่ชอบอุณหภูมิปานกลาง การสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ ต้วอย่างของเชื้อราพวกที่เป็นเซลล์เดียว เช่น ยีส Saccharomyces cerevisiae ส่วนพวกหลายเซลล์ที่เป็นเส้นใย เช่น Rhizopus spp. Aspergillus spp. Penicilliun spp. และเห็น เช่น เห็ดฟาง Volvariella volvaceae

3. โปรโตซัว (Protozoa)



     ลักษณะเซลล์เป็นเซลล์เดียวและเป็นพวกยูคารีโอตแต่ไม่มีผนังเซลล์ เป็นจุลินทรีย์ที่มีวิวัฒนาการของเซลล์ไปมากที่สุด การแพร่พันธุ์มีทั้งแบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ โดยแบบไม่มีเพศอาจจะเป็น Binary fission การแตกหน่อ หรือการสั้งสปอร์ เป็นต้น สามารถเคลื่อนที่ได้ในบางช่วงของวงจรชีวิต ขนาดและรูปร่างของโปรโตซัวมีความแตกต่างกันมาก เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปแท่งหรือท่อน บางชนิดมีรูปร่างหลายแบบในช่วงการเจริญ บางชนิดเห็นได้ด้วยตาเปล่า พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ อากาศ และในสิ่งมีชีวิต ปกติโปรโตซัวกินแบคทีเรียเป็นอาหาร ดังนั้นบริเวณที่มีแบคทีเรียมาย่อมมีโปรโตซัวมากตามไปด้วย และสำหรับโปรโตซัวที่เป็นปรสิตของสัตว์ พวกนี้จะเลี้ยงอย่างอิสระไม่ได้ต้องอยู่กับเซลล์เจ้าบ้าน (Host cell) เท่านั้น โปรโตซํวมีการเคลื่อนที่ 3 แบบ ด้วยกัน คือ
     1. ใช้ขาเทียม (Pseudopodium) ซึ่งเกิดจากการยืดหดของไซโทพลาซึม การเคลื่อนไหวแบบนี้เรียกว่า Ameboid movement เช่น Amoeba
     2. ใช้รยางค์ขนาดยาว (Flagella) เช่น Euglena
     3. ใช้ขนเล็กๆ เรียกว่า ซีเลีย โบกพัด เช่น Paramecium

4. สาหร่าย (Algae)



     เป็นจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์แสงได้ เพราะมีคลอโตฟีลล์ การสังเคราะห์แสงเหมือนพืชชั้นสูง นอกจากนี้ยังมีรงควัตถุ (Pigment) อื่นๆอีก ทำให้สาหร่ายมีสีต่างๆกันไป เช่น สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล สีน้ำเงิน ซึ่งใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจัดจำแนกหมวดหมู่ของสาหร่าย หรืออาจใช้ประเภทของคลอโรฟิลล์ในการจัดจำแนกก็ได้เช่นกัน ลักษณะของเซลล์เป็นพวกยูคารีโอต มีทั้งพวกที่เป็นเซลล์เดีวมีขนาดเล็กต้องส่องดูด้วยกล้อง บางชนิดมีหลายเซลล์ขนาดใหญ่อาจยาวถึง 100 ฟุต ลักษณะรูปร่างต่างกันไป เช่น รูปกลม รูปท่อน รูปเกลียว รูปแฉก รูปกระสวย บางชนิดเซลล์อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเช่าน Volvox บ้างต่อกันเป็นสาย เช่น Anabacna บ้างเรียงกันเป็นแผ่น เช่น Ulva สาหร่ายพวกที่เคลื่อนที่ได้จะอาศัยแฟลกเจลลา หรือเท้าเทียม การสืบพันธุ์มีทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ เนื่องจากสาหร่ายสังเคราะห์แสงได้บริเวณที่แสงส่องถึงจึงสามารถพบสาหร่ายได้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ พื้นดิน และพื้นผิวที่ชื้นแม้กระทั่งหิน

5. ไวรัส (Virus)



     ไวรัสไม่สามารถจัดเป็นเซลล์ได้ เพราะขาดโครงสร้างและองค์ประกอบของเซลล์อีกทั้งไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างอิสระได้ จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เพื่อดำรงชีวิตและเพื่อการเพิ่มจำนวนเรียกลักษณะนี้ว่า Obligate intracellular parasite โครงสร้างของไวรัสจะประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกที่เป็น DNA หรือ RNA เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และมีโปรตีนที่เรียกว่า Capsid หุ้มอยู่ นอกจากนี้อาจมีเยื่อหุ้มที่เรียกว่า Envelope ไวรัสมีขนาดเล็มากประมาณ 20-25 นาโนเมตร จนถึง 200-300 นาโนเมตร จึงไม่สามารถมองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา หากแต่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ตามธรรมชาติพบไวรัสได้ทั่วไปโดยอาศัยอยู่กับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ตลอดจนจุลินทรีย์

ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow

ที่มาข้อมูล
หนังสือ นิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ ของรองศาตราจารย์ ดร.ดวงพร คันธโชติ

ที่มารูปภาพ
http://ssubio110.wordpress.com/
http://www.nature.com/nri/journal/v4/n1/box/nri1255_BX2.html
http://water.me.vccs.edu/courses/env108/Lesson6_print.htm
http://www.lakesuperiorstreams.org/understanding/algae.html
http://science.howstuffworks.com/environmental/life/cellular-microscopic/light-virus.htm
http://technorati.com/politics/article/agriculture-is-the-new-prized-asset/

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สำหรับการเกษตร



วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีทำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย แบบกล้วยๆ

ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow


สอนวิธีหาเงินออนไลน์ ฟรี


กล้วย...คงไม่มีใครไม่รู้จักกล้วยนะครับ  แต่เคยมีใครสังเกตไหมว่าบริเวณไหนที่มีกล้วย ดินบริเวณนั้นมักจะร่วนซุย โปร่ง อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยธาตุอาหาร ต่างๆมากมาย อันเนื่องมาจากบริเวณโคนรากของต้นกล้วยจะมีจุลินทรีย์อยู่หลายชนิด ซึ่งทำหน้าที่สร้างปุ๋ยและฮอร์โมน อีกทั้งยังปรับสภาพดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะจุลินทรีย์บริเวณโคนรากของหน่อกล้วยซึ่งจะมีมากเป็นพิเศษ จึงเหมาะสมที่สุดที่จะนำมาทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์อันสุดยอดของเราในวันนี้ ว่าแล้วก็ไปดูวิธีการทำกันเลย...

วิธีการทำ
1. เลือกหน่อกล้วยต้นที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรค สูงไม่เกิน 1 เมตร ขุดออกมาทั้งเหง้า ราก ให้ได้มากที่สุดโดยให้มีดินติดรากมาด้วย (ให้ขุดตอนเช้ามืด ก่อนตะวันขึ้น เนื่องจากเวลานี้จุลินทรีย์จะขึ้นมาอยู่บริเวณรากหน่อกล้วยมากที่สุด แต่ถ้าตะวันขึ้นเมื่อไหร่ จุลินทรีย์ก็จะมุดลงไปในดิน)

2. นำหน่อกล้วยที่ได้มาสับๆ หั่นๆ ทั้งหมดทั้ง ราก เหง้า ลำต้น หยวก ใบ ให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือละเอียดเลยยิ่งดี (ไม่ต้องล้างนะครับผม)
3. นำหน่อกล้วยสับเสร็จแล้วมาชั่งกิโล เพื่อจะนำไปหาอัตราส่วนผสมต่อไป



4. อัตราส่วนผสม หน่อกล้วย 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน 
*** สำหรับบางคนกากน้ำตาลอาจหายาก และยุ่งยาก สามารถใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้นะ
โดย กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม




5. เทส่วนผสมทั้งสองลงในภาชนะที่มีฝาปิดหรือพลาสติกคลุม คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดด



6. คนเช้า คนเย็น จนครบ 7 วัน เป็นอันใช้ได้...คั้นเอาน้ำหมักออกมาเรียกว่า "หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย"



ตัวอย่างนะครับ
สมมุติว่าวันนี้ผมขุดหน่อกล้วยมาได้ 6 กิโลกรัม
ดังนั้น จะต้องใส่กากน้ำตาล 6/3 = 2 กิโลกรัม (หรือใช้น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม)

อีกตัวอย่างนะครับ
สมมุติว่าวันนี้ผมขุดหน่อกล้วยมาได้ 8 กิโลกรัม
ดังนั้น จะต้องใส่กากน้ำตาล 8/3 = 2.67 กิโลกรัม (หรือใช้น้ำตาลทรายแดง 2.67/2 = 1.335 กิโลกรัม)




สำหรับใครที่อยากรู้ว่าในหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยประกอบไปด้วยจุลินทรีย์อะไรบ้าง มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองไหม มีฮอร์โมนอะไรรึเปล่า ประโยชน์ที่แท้จริงคืออะไร รวมไปถึงวิธีใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและเหมาะสมกับพืชมากที่สุด ต้องติดตามอ่าน...บทความต่อไปนะครับ

ติดตามข่าวสารและกด like ได้ที่  https://www.facebook.com/Organicmellow


http://organicmellow.blogspot.com/2013/09/organic-mellow.html

ขอบคุณที่มารูปภาพ
http://www.bansuanporpeang.com
http://wisdom.stkc.go.th
http://famerg4wd.blogspot.com
http://www.thaiagro.com